ละหมาดฟัรดูเสร็จแล้ว อิหม่าม หรือคนหนึ่งใน ณ ที่นั้นทำการขอดุอาอฺ บรรดามะมูมก็กล่าวอามีน..มีบัญัตหรือไม่?

ขอชี้แจงแบบสรุปว่า..มีบัญญัตที่กระทำได้..ซึ่งระบุในตัฟซีรอิบนุกะษีร..ว่า..ไม่มีสิ่งใดที่ยะฮูดีย์อิจฉาพวกเจ้าไปกว่าการอิจฉาแก่พวกเจ้าในการกล่าว..สลาม..และการกล่าวอามีน..บันทึกโดยท่านอิบนุมาญะฮ์..และคล้ายหรือใกล้เคียงจากรายงานของท่านอิบนุอับบาส..

ท่านอะนัสกล่าว่า ท่านนบีกล่าวไว้ใจความว่า ฉันได้รับ คำกล่าวอามีน ในละหมาดและในดุอาอฺ ซึ่งไม่มีใครได้รับมันก่อนฉันเลย นอกจากนบีมูซา ปรากฏนบีมูซาทำการขอดุอาอฺ นบีฮารูนกล่าวอามีน เจ้าทั้งหลายจงปิดท้ายดุอาอฺ ด้วยกล่าวอามีนเถิด แท้จริงอัลลอฮฺทรงตอบรับดุอาอฺด้วยการกล่าวอามีนของพวกเจ้า รายงานจากอิบนุมัรดะวัยฮ์

รายงานจากท่านอิบนุอับบาสมัรฟูอัน..ว่า..คนขอดุอาอฺกับคนกล่าวอามีนหุ้นส่วนกันในผลบุญ คนอ่านกุรอานกับคนฟังหุ้นส่วนกันในผลบุญ คนสอน(ครู)กับคนเรียนหุ้นส่วนกันในผลบุญ มีบันทึกในมัวะญัมอัฏฏ๊อบรอนีย์..จากฮุบัยเราะฮ์จากหะบีบบินมัสละมะฮ์อั้ลฟะฮ์รีย์ ท่านใช้พลทหาร เมื่อพบกับศรัตรูโดยท่านกล่าวว่า ฉันได้ยินท่านนบีกล่าวว่า ไม่มีกลุ่มใดรวมตัวกัน คนหนึ่งขอดุอาอฺที่เหลืออยู่กล่าวอามีน เว้นแต่อัลลอฮฺทรงรับการขอนั้น..บันทึกโดยท่านฏ๊อบรอนีย์

นักวิชาการส่วนใหญ่(ญุมฮูรอุละมาอ์)จึงชี้แจงว่าการขอดุอาอฺ แบบญะมาอะฮ์หลังละหมาด คือบัญญัตหนึ่งเช่นกัน-เช่น มัษฮับชาฟิอียะฮ์ หะนาบิละฮ์ แนวหนึ่งของหะนะฟียะฮ์  และมาลิกียะฮ์ ครับ มันคืออิบาดะฮ์ที่เปิดกว้าง งั้นใครปรารถนาทำ ถือว่าอัฟฎ้อล(ประเสริฐยิ่ง) ใครปรารถนาแยกตัวออก เพื่อความเป็นส่วนตัวก็มิเกิดโทษ หลังจากทบทวนและค้นคว้าแล้ว..จึงนำเสนอ มิได้ตำหนิผู้ใด ของถูกมีอย่างเดียว แต่ทางไปหาถูกมีหลายทาง แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคนครับ

 

ขอขอบคุณ อาจารย์อาลี กองเป็ง

You may have missed